July 29, 2009

งานวันคล้ายวันเกิดครบ 34 ปี ท่าน Geshe Tenzin Zopa


เมื่อวันนที่ 16 กรกฎาคม ที่ผ่านมาเป็นวันอันเเสนวิเศษ เนื่องจากเป็นวันคล้ายวันเกิดของท่าน เกอเช ทนซิน โซปา พระอาจารย์ผู้ประเสริฐของเรา

โดยที่ LDC ศูนย์อนุรักษ์พุทธศาสนามหายานแห่งโลซาง ดรักปรา เซ็นเตอร์ (LDC) กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย มีการจัดงานเฉลิมฉลองอย่างอบอุ่นให้กับท่าน เกชาลา โดยครั้งนี้ได้มีโอกาสพิเศษ เนื่องจาก
ทาง LDC ได้มีโอกาสต้อนรับท่าน Khadro-la ซึ่งมาร่วมงานฉลองวันคล้ายวันเกิดของท่าน เกชาลาในครั้งนี้ด้วย ซึ่งทำให้งานนี้ทวีความเป็นมงคลเพิ่มขึ้นไปอีก

โดยงานนี้คับคั่งไปด้วยผู้ที่มาร่วมงาน โดยแต่ละคนก็ได้นำอาหาร ขนม หรือเค้กมามากมาย ทำให้งานนี้เต็มไปด้วยอาหาร ขนม และที่สำคัญ นั่นคือ เค้กวันเกิด (ซึ่งมีอยู่หลายก้อนทีเดียว)… งานนี้เกิดขึ้นได้ด้วยความร่วมมือร่วมใจของทุกคนที่ LDC ที่มีต่อ ท่า เกชาลา พระอาจราย์ผู้ประเสริฐ แม้แต่เด็กๆ ที่ท่าน เกชาลาเคยสอนในวิชา ธรรมมะสำหรับเด็ก (Dharma for kids) ก็ได้เตรียมบทเพลงและการแสดงอันสนุกสนานมาแสดงให้ท่าน เกชาลาและท่าน Khadro-La ด้วย โดยจุดเด่นอยู่ที่การร้องเพลง rap ของ Clarence และ คำอวยพรพิเศษจากบรรดาลูกศิษย์ของท่าน เกชาลา และท้ายพิธีก็เป็นการถวายผ้า กะตะแด่ท่านเกชาลา โดยเราเชื่อเหลือเกินว่าพิธีอันเป็นมงคลนี้จะนำพรอันประเสริฐมาสู่ผู้ร่วมงานทุกคน

หากท่านใดก็ตามที่มีความประสงค์อยากส่งข้อความอวยพรท่าน เกชาลา พระอาจารย์ผู้ประเสริฐ สามารถส่งอีเมล์ได้ที่
tztzopa@yahoo.com สำหรับภาษาอังกฤษและ tztzopa-th@hotmail.com สำหรับภาษาไทย เราขออวยพรให้ทุกท่านที่ได้อ่านบทความนี้ได้รับพรอันประเสริฐจากท่าน เกชาลา เช่นกัน

Happy Birthday My Holy Precious Guru, Geshe Zopa

งานวันคล้ายวันเกิดครบ 34 ปี ท่าน Geshe Tenzin Zopa

July 21, 2009

ธรรมมะ

ผู้ฝึกปฏิบัติตามแนวทางแห่งมหายานจะละทิ้งแนวทางแห่งนิพพาน อย่างเช่นการฝึกตามวิถีแห่งหินยานมิได้


Geshe Tenzin Zopa
แปลโดย Nana Wang

July 10, 2009

ธรรมมะ

บุคคลพึงเลี่ยงการประพฤติผิดในอกุศลกรรมบถ ๑๐ กล่าวคือ การฆ่า การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกามคุณ การกล่าวเท็จ การพูดส่อเสียด การกล่าวคำหยาบ การพูดเพ้อเจ้อ การอยากได้ของผู้อื่น
การพยาบาท และการมีความเห็นผิด
Geshe Tenzin Zopa
แปลโดย Pongsak Promma

ธรรมมะ

บุคคลพึงเลี่ยงการประพฤติผิดในอกุศลกรรมบถ ๑๐ กล่าวคือ การฆ่า การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกามคุณ การกล่าวเท็จ การพูดส่อเสียด การกล่าวคำหยาบ การพูดเพ้อเจ้อ การอยากได้ของผู้อื่น การพยาบาท และการมีความเห็นผิด
Geshe Tenzin Zopa
แปลโดย Pongsak Promma

July 09, 2009

มนตรา

โอม มะนี ปัดเม ฮุม

มนตรานี้เป็นหนึ่งในมนตร์ที่ได้รับการสวดภาวนาด้วยความเคารพเทิดทูนมากที่สุดบทหนึ่งในโลก และเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่าเป็นมนตราแห่งพระพุทธะผู้เมตตา องค์พระพุทธะแห่งเมตตานี้เป็นที่รู้จักกันอย่างลึกซึ้งในนามขององค์กวนอิมในหมู่ชนชาวจีน ในนามองค์เชนเรซิกในชนชาวธิเบต ในนามพระอวโลกิเตศวรในภาษาสันสกฤตโบราณแห่งภารตประเทศ หรือองค์แคนนอนในประเทศญี่ปุ่น

มนตราอันปรากฎในพยางค์ ๖ พยาางนี้ดูเรียบและง่ายแก่การท่องบ่น แต่สิ่งอันเรียบง่ายนี้ประกอบไปด้วยพระธรรมคำสอนแห่งพระพุทธองค์ทั้งสิ้น ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ นับว่าเป็นมนตราอันเป็นหัวใจของธรรมทั้งปวง แม้เพียงความเมตตาเพียงเล็กน้อยที่เราแผ่ออกไปในชีวิตประจำวันของเรา เราย่อมมีความผูกพันเกี่ยวโยงกับพระมหาเมตตาขององค์อวโลกิเตศวรอย่างมิต้องสงสัย
ดังที่ ท่านลามะ โซปา รินโปเช ได้ปรารภไว้แล้วว่า แม้เราภาวนามนตรานี้เพียงคาบเดียว พลังอันบริสุทธิ์แห่งมนตร์จะชำระจิตวิญญาณ ปลดปล่อยความยืดถือในตัวตนและกรรมอันเ็ป็นลบ แม้เพียงการสวดเพียงหนึ่งครั้ง ท่านจะได้รับอานิสงส์ดังหนึ่งว่าได้ถวายทานแด่พระพุทธเจ้าทั้งหลายอันนับประมาณมิได้ ดังนั้นจึ่ง
เป็นสิ่งดีงามที่จะได้สวดภาวนามนตรานี้และได้เข้าใจความหมายของพยางค์ทั้งหกด้วย
พยางค์ที่หนึ่งคือ โอม อันประกอบจาก อะ, อุ และ มะ ทั้งสามนี้เป็นสัญลักษณ์แห่งกาย วาจา และใจ ทั้งที่ยังไม่บริสุทธิ์ของเรา และกาย วาจา ใจ ที่บริสุทธิ์ผุดผ่องแล้วแห่งพระพุทธเจ้า ไม่มีสรรพสัตว์ในกัปกัลป์ใดที่ปราศจากมลทินโทษและมีคุณสมบัติพร้อม นั่นคือกระบวนการที่ำดำเนินมาอย่างค่อยเป็นค่อยไปในการชำระ
กาย วาจา ใจ อันไม่บริสุทธิ์ของเราไปสู่สภาวะอันบริสุทธิ์แห่งธรรม

พยางค์ที่ ๒ และ ๓ คือ มณิ อันมีความหมายว่า แก้วอันมีค่า เป็นสัญลักษณ์แห่งปัจจัยของอุปายะ ความรักความเมตตา ความตั้งใจแก่ผู้อื่นเพื่อบรรลุสู่การรู้แจ้ง แม้เพียงการเป็นแก้วที่ทรงค่าก็ย่อมขจัดเสียซึ่งความยากจนและอุปสรรค์ทั้งหลาย เฉกเช่นเดียวกับความปรารถนาอันทรงคุณค่าของสรรพสัตว์และความตั้งใจที่จะมุ่งสู่การตรัสรู้ มิใช่เพียงเพื่อตนเองเท่านั้น หากยังประโยชน์แก่สรรพชีวิตทั้งปวงด้วย ดังที่องค์ดาไล ลามะได้ทรงกล่าวไว้แล้ว
พยางค์ที่ ๔ และ ๕ คือ ปัทเม อันมีความหมายว่า ดอกบัว เป็นสัญลักษณ์แห่งปัญญาญาณ ดอกบัวนั้นงดงามแต่กลับเกิดมาจากโคลนตมอันเปรอะเปื้อน ฉันใดก็ดี เหมือนดั่งปัญญาซึ่งเมื่อเกิดแล้วก็จะนำพาเราทั้งหลายออกจากความขัดแย้งทั้งปวง

พยางค์สุดท้าย คือ ฮุม หมายถึง ภาวะที่แ่บ่งแยกมิได้ หรือ ญาณทัศนะอันเป็นเอกภาพของอุปายะและปัญญาเพื่อบรรลุถึงความบริสุทธิ์ ด้วยเหตุนี้ พยางค์ทั้งหก คือ โอม มณิ ปัทเม ฮุม จึงหมายความถึง การปฏิบัติแห่งมรรคซึ่งประกอบด้วยเอกภาวะแห่งอุปายะและปัญญา เมื่อเราปฏิบัติแล้วก็จักยกจิตวิญญาณของตนให้ล่วงพ้นจากความไม่บริสุทฺธิ์ของกาย วาจา และใจ ขึ้นสู่ความบริสูทธิ์ดังเช่น กาย วาจา และใจแห่งพุทธะ
แต่งและเรียบเรียงโดย Thubten Namdak of LDC, Malaysia.
แปลโดย คุณพงษ์ศักดิ์ พรหมมา

July 08, 2009

ธรรมมะ

แม้ว่าเราสวดมนต์ภาวนามากเพียงไรก็ีดีเพื่ออิสรภาพจากสังสารวัฏ หากไร้ซึ่งจิตวิญญาณที่แท้จริงในการแสดงออกแล้วไซร้ เราก็ยังคงจมปลักอยู่ในวัฏฏสงสารอยู่นั่นเอง
Geshe Tenzin Zopa
แปลโดย Pongsak Promma

July 07, 2009

ธรรมมะ

เราต่างเสาะหาองค์พระงามๆ เพื่อเดินทางไปพร่ำภาวนา ไม่ต่างจากที่เราแสวงหาวัตถุธรรมอื่นๆ เืพื่อครอบครอง มรรควิธีเช่นนี้ ผู้ภาวนาย่อมไม่ประสบผลสำเร็จเลย
Geshe Tenzin Zopa

July 03, 2009

ธรรมมะ

หากท่านถวายน้ำเป็นเครื่องบูชาแด่องค์จัมปาลาเพื่อเป้าหมายชีวิตซึ่งเจือปนไปด้วยเหตุแห่งการเวียนว่ายตายเกิดแล้ว องค์ชัมบาลาก็ไม่ทรงอำนวยพรให้ท่านสมปรารถนาในทรัพย์ศฤงคารอย่างแน่แท้


Geshe Tenzin Zopa
แปลโดย Pongsak Promma

July 02, 2009

ธรรมมะ

เพื่อบรรลุถึงพระนิพพาน เราต่างจำเป็นต้องเก็บเกี่ยวทุกข์อันเป็นสัจจธรรมแท้ เพื่อถอนรากเหง้าแห่งทุกข์ เราต้องแสวงหาความหมายของเหตุแห่งทุกข์ ซึ่งได้แก่ อวิชชา มายาภาพ และกรรม
Geshe Tenzin Zopa
แปลโดย Pongsak Promma